top of page

ปรับสมดุล 3 ฐาน กาย-ใจ-คิด ให้ลูกรัก

ชวนคุณพ่อคุณแม่มาตั้งคำถามว่า

เราใจร้อนรีบเร่งวุ้นลูกเกินไปมั้ย ลูกสมดุลรึป่าว?

กาย-ใจ-คิด : พัฒนาการของลูก ผ่าน 3 ฐาน

ช่วง 0-7 ขวบ เรียนรู้และพัฒนาฐานกาย(Hand) ช่วง 7-14 ขวบ เรียนรู้และพัฒนาฐานใจ(Heart) ช่วง14-21 ขวบ เรียนรู้และพัฒนาฐานคิด(Head)

ซึ่งสอดคล้องตามแนวมนุษยปรัชญา แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามการเรียนรู้เป็น 3 ช่วง

1.ระยะแรก 0-7 ปี เป็นช่วงเวลาแห่งชีวิตที่เจตจำนง (willing) หมายถึงความมุ่งมั่นตั้งใจตามธรรมชาติ เช่น พัฒนาการของเด็กทารกตั้งแต่การตั้งไข่ พยายามเกาะ ยืน แล้วเดิน ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ ไม่ต้องใช้ความรู้สึกหรือการคิดวางแผน เรียนรู้ผ่านการเล่นอิสระ สนุกสนาน หรือการลงมือทำ

การสื่อสาร พ่อแม่ควรใช้ฐานกาย เพื่อเล่นหรือทำบางอย่างร่วมกับลูก พูดคุยกับลูกจะเน้นเรื่องการลงมือทำ ใช้คำถาม เช่น. ทำอะไรอยู่คะ? เป็นยังไง? ให้ลูกอธิบาย หรือทำให้ดูค่ะ

2.ระยะสอง 7-14 ปี เป็นช่วงเวลาแห่งความรู้สึก (feeling) การสอนควรเน้นให้เด็กรู้สึก – มีความสนุก เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ ความชอบ ไม่ชอบ จะเริ่มแคร์ความรู้สึกคนรอบข้าง เพื่อน พ่อแม่ รวมถึงสะท้อนและเข้าใจความรู้สึก อารมณ์ของตัวเองและสังเกตความรู้สึกคนอื่น

การสื่อสาร พ่อแม่ควรพูดคุยเรื่องความรู้สึกได้ตรงๆ แสดงความรู้สึกต่างๆ ชัดเจน อารมณ์ไม่ขึ้นลง และอธิบายให้ลูกเข้าใจอารมณ์ของคนอื่น

เช่น. ตอนนี้แม่รู้สึกโกรธ ,น้องรู้มั้ย พี่กำลังน้อยใจหนู เรียนรู้ เข้าใจ และรวมถึงวิธีการจัดการอารมณ์ด้วย

สื่อสารด้วยคำถามที่ช่วยสะท้อนความรู้สึก เช่น "หนูรู้สึกยังไงคะ" "หนูสนุก/ชอบมั้ยคะ"

3.ระยะสาม 14- 21 ปี ช่วงเวลานี้เป็นห้วงเวลาที่ ‘ระบบคิด’ (thinking) ในวัยนี้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีตรรกะ และใช้วิจารณญาณในการคิด

ฝึกให้เด็กๆ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ทักษะการคิด มีหลายอย่าง critical thinking/systematic thinking creative thinking/ design thinking

การสื่อสาร พ่อแม่ควรจะสะท้อนความคิดของลูก และแสดงความคิดเห็นของพ่อแม่ ัเคารพและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

คำถามที่ใช้กระตุ้นความคิด เช่น ลูกคิดว่า ทำไมผลลัพธ์ถึงเป็นแบบนี้? ลูกคิดว่า เราจะแก้ปัญหานี้ยังไงดีคะ? . . .

จากที่เจอผู้ปกครองและเด็กๆ ช่วงวัย 3-12 ขวบ มีประเด็นมักเป็นความเข้าใจผิด ก่อให้เกิดปัญหา

ชวนคุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตตัวเองดังนี้ค่ะ

1.เราเร่งวุ้น ลูกเกินไปมั้ย คาดหวังมากเกินวัย เกินธรรมชาติของลูกรึป่าว เช่น ลูก 4 ขวบ แต่เราบังคับให้ลูกอยู่นิ่งๆ เราคาดหวังให้ลูกคิดแก้ปัญหาทุกอย่างได้เอง อยากให้ลูกพูดคุยด้วยเหตุผล ตอนที่ลูกร้องไห้อยู่ จนลืมไปว่า 4 ขวบ ลูกอยากเล่น อยากทำ อยากรู้เห็น

2.กระโดดข้ามฐานใจ ในยุคที่ทุกอย่างเร่งรีบ เรามักเผลอเร่งให้ลูกรีบคิด กระโดดข้ามฐานใจ จากกาย ไป คิดเลย ทำให้เด็กๆ ไม่รู้สึก ไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกยังไง

กลายเป็นหุ่นยนต์ ที่คิดได้แต่ร้องไห้ไม่เป็น แสดงความรู้สึกไม่เป็น ไม่รู้ว่าตัวเองชอบ ไม่ชอบอะไร เป็นอะไรก็ได้ที่พ่อแม่อยากให้เป็น เมื่อถามว่ารู้สึกยังไง ก็มักตอบว่า. ไม่รู้/เฉยๆ

3.การสื่อสาร เป็น 2 way- communication รึป่าว ถ้าลูกร้องไห้ อยากได้ของเล่น อยู่ในฐานใจ พ่อแม่อยู่ในฐานคิด. พยายามอธิบายด้วยเหตุผลมากมายเพียงใดก็ตาม แต่ลูกก็ไม่หยุดร้อง ทำให้คุยกันไม่รู้เรื่องค่ะ

พ่อแม่ต้องปรับจูน. สื่อสารให้ตรงฐานที่ลูกเป็น. ณ ขณะนั้นๆ ค่ะ . . .

ลองดูนะคะว่า ลูกคุณยังสมดุลทั้ง 3 ฐานอยู่มั้ย? สมดุลไม่ได้หมายความว่าเท่ากัน แล้วแต่ธรรมชาติ การเลี้ยงดูหรือความถนัดของเด็กแต่ละคน เด็กบางคนมีทักษะการคิดตั้งแต่ 5 ขวบแต่ก็ยังรู้สึกเป็น

โมเดลนี้ย้ำเตือนให้เราคิดถึงทั้ง 3 ฐานของลูก พัฒนาการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 3 ฐาน ไม่หลงลืมหัวใจดวงน้อยๆ ของลูกค่ะ

เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ

เขียนโดย ครูหยด หยดพิรุฬ ไทยเกิด ครูหยด หยดพิรุฬ

Featured Posts
Recent Posts