5 เส้นทางสู่อัจฉริยะจากภายใน
5 เส้นทางสู่อัจฉริยะจากภายใน (The FIVE Faces of Genius)
มาดูกันค่ะว่าเราจะปลูกฝังและต่อยอดให้ลูกๆ เป็นอัจฉริยะจากภายในได้อย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยไหน หรือสังคมใด คำว่า "อัจฉริยะ" สามารถดึงดูดความสนใจจากเหล่าบรรดานักอ่านได้ดี ทำให้มีหนังสือมากมาย นำเสนอเกี่ยวกับความเป็นอัจฉริยะ แต่สิ่งที่ทำให้ "The Five Faces of Genious " เขียนโดย ANNETTE MOSER-WELLMAN เหนือกว่าเล่มอื่น ๆ ก็คือ การนำเสนอความเป็นอัจฉริยะด้วยมุมมองที่แตกต่าง และแนะนำแนวทางให้คนในยุคสหัสวรรษ ที่ชีวิตเต็มไปด้วยการแข่งขันไขว่คว้าหาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ให้หยุดนิ่งแล้วหันกลับเข้าไปค้นหา และดึงเอาความเป็น "อัจฉริยะภายใน" ตัวเองออกมาใช้ ด้วยการเดินทางกลับเข้าสู่จิตใจตัวเองตามเส้นทางสู่ความเป็นอัจฉริยะ 5 ประเภท
1. ใช้พลังของจินตนาการ ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้ ผู้ที่มีความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเป็นภาพ ที่เพรียบพร้อมไปด้วย แสง สี เสียง และความรู้สึก และ คิดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วในจินตนาการ แล้วพยายามหาวิธีการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นเป็นจริง เช่น โมสาส สามารถแต่งเพลงเสร็จตั้งแต่อยู่ในหัว และยังรู้ด้วยว่าช่วงไหนจะใช้เครื่องดนตรีประเภทใดบรรเลง เป็นต้น ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ ปัญญาจะเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในสภาพสบาย ๆ ดังนั้น ถ้าเราต้องการดึงพลังแห่งจินตนาการของตัวเองมาใช้ ควรอยู่ในอิริยาบถสบาย ๆ อาจจะเป็นการนั่ง หรือ นอนแต่ต้องรู้สึกตัวตลอดเวลา และควรมีสมุดเล็ก ๆ ติดตัวเพื่อจดภาพความคิดที่ผุดขึ้นมา เพราะภาพที่ผุดขึ้นมาและจางหายไปอย่างรวดเร็ว เช่นกัน สำหรับบางคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีจินตนาการ และอยากจะมีความคิดดังกล่าวสามารถทำได้โดย วิธีการสร้างจินตนาการ หัดเขียนบันทึกเหตุการณ์โดยเน้นบรรยายความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้น และควรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานนัก เช่น การบรรยายความรู้สึกเมื่อไปเที่ยวทะเล ควรนึกให้ได้ว่า เมื่อสัมผัสโดนลมแล้วรู้สึกอย่างไร เหนียวตัว , เป็นลมร้อน หรือเย็นสบาย เป็นต้น หัดคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ เช่น การจินตนาการอย่างรอบด้านถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากจินตนาการ ถ้าเราต้องเขียนโครงการ รายงาน บทความต่างๆ ให้หัดเขียน outline ในใจก่อนแล้วค่อยลงมือเขียนจริง
2. ช่างสังเกต ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้ นิ่ง ๆ นั่งเฉย ๆ ไม่ชอบพูด แต่จะมีความละเอียดอ่อนในการมองเห็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะ เวลามองสิ่งต่าง ๆ จะสังเกตรายละเอียดทั้งรอบ ๆ สิ่งนั้น และภายในตัวสิ่งนั้น และยังเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอีก จึงทำให้เกิดภาพการหยั่งรู้ จะมีรับข้อมูลที่แปลกใหม่มากกว่าคนอื่น ๆ จึงมักเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียว เช่น เดินป่าคนเดียวเป็นเวลานาน ๆ และเป็นผู้ที่อยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ซึ่งจะสะท้อนความอยากรู้ออกมาในลักษณะของคำถามหลักว่า " ทำไม " ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ จะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น ต้องเป็นนักเดินทาง หรือการไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ใช้ชีวิตไม่ซ้ำซาก สำหรับบางคนที่ต้องทำงานซ้ำซากก็มีวิธีแก้ โดยแบ่งเวลาว่างในแต่ละวัน ไปศึกษาอะไรแปลกใหม่ให้ชีวิต เช่น ใช้การอ่าน หรือการดู เป็นต้น วิธีการสร้างนิสัยเป็นคนช่างสังเกต ให้เจาะจงเลือกกิจกรรมหนึ่งแล้วลงมือทำอย่างช้า และคอยสังเกตรายละเอียดของการทำงานชิ้นนั้น หัดตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ว่า "ทำไม" เพราะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราเกิดการเก็บข้อมูลและเมื่อทำเช่นไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราเกิดการเปรียบเทียบ หัดอยู่คนเดียวทบทวนความคิด พฤติกรรมของตนเองในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตแบบซ้ำ ๆ ซาก ๆ เช่น ตื่นกี่โมง ขึ้นรถกี่โมง เพราะเป็นการทำลายความคิดสร้างสรรค์
3. นักเล่นแร่แปรธาตุ ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้ คนที่สามารถดึงสิ่งต่าง ๆ เข้ามาเชื่อมโยงกับเป้าหมายสำคัญที่ต้องการ โดยพลังความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้โดยการจับข้อมูลต่างสาขา มาสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันจนกระทั่งเกิดความคิดใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เข้าใกล้เป้าหมายที่สำคัญและแน่นอนที่มีอยู่ เช่น ธุรกิจไบโอเทคที่ในขณะนี้ต้องนำการทดลองมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในด้าน packaging ของผลิตภัณฑ์ ให้ดูสวยงาม เป็นต้น ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ เกิดจากความคิดที่ว่า " ทำเพราะอยากทำ " เช่น ลงแรงเพื่อต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน หรืองานหรือเป็นหน้าที่ เป็นต้น ดังนั้น มีความสามารถในการอ่าน หรือดูอะไรโดยไม่มีวัตถุประสงค์หลัก แต่เขามีเป้าหมายหลักในใจอยู่แล้ว แต่ทำเพราะอยากจะทำ วิธีการสร้างความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ พยายามอย่ายึดติดกับแนวคิดในสายงานหรือความคิดของตนให้มากเกินไป รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้งานของตนออกมาดี ควรหมั่นหาความรู้ที่นอกเหนือจากสายงานประจำให้มากขึ้น อาจทำได้โดย การอ่าน หรือการพูดคุยกับคนต่างอาชีพ
4. คิดนอกกรอบ ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้ เมื่อตัดสินใจลงทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ ถึงแม้ว่าทำผิดแล้วผิดอีกก็ยังจะทำ แต่มีคำถามอยู่ในใจว่า จะขอลองทำอีกครั้ง แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ผิดพลาด และมีการวิเคราะห์ว่า ความผิดพลาดเกิดจากอะไร มีสาเหตุอะไร เพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกันไม่ให้เกิดการผิดซ้ำสอง เช่น นักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นทำการทดลอง ดังนั้น จึงเป็นผู้ที่มีความอดทนสูง สามารถรับความผิดพลาดในชีวิต และยอมรับการดูถูกดูแคลนได้ เพราะเขารู้จักตัวเอง รู้ว่าคิดตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ ความเป็นอัจฉริยะ ประเภทนี้ จะเกิดขึ้นได้ดี เมื่อเราต้องทำอะไรในเวลาอันจำกัด แต่ต้องมี Positive Thinking ว่าเราสามารถทำได้ พลิกสถานการณ์ได้ จะลำบากยังไง ใครจะหัวเราะเราก็ต้องเชื่อว่า เราจะทำให้ได้ วิธีการสร้างความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ คิดกลับหัวหลับหาง หัดวิเคราะห์ความล้มเหลวว่า ทำไมจึงล้มเหลว และจะแก้ไขอย่างไร มีความอดทนเป็นเลิศ ทนต่อคำดูถูกดูแคลนจากคนอื่น และทนต่อความตรากตรำ จนกว่าจะหาวิธีการพิสูจน์ความเชื่อ ของตนเองออกมาได้
5. คิดแบบนักปราชญ์ ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้ เป็นผู้ที่สามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สามารถอธิบายหรือเขียนอย่างสั้น ๆ กระชับ ได้ใจความใช้คำที่คม สั้นแต่เข้าใจได้ง่าย เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ เป็นต้น และรักการเรียนรู้โดยเฉพาะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ฉะนั้นส่วนใหญ่คนประเภทนี้จะเป็นนักอ่าน เพราะการอ่านเปรียบเสมือนพื้นฐาน ของปัญญาอันหลักแหลมของปราชญ์ ทำให้สามารถคิดได้หลายมิติ และไม่ค่อยคิดในทาง Negative เพราะมีความรู้มากก็หาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ วิธีการสร้างความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ ให้เน้นความเรียบง่าย มีความกล้านำเสนอความคิดตัวเอง กับบุคคลสำคัญ ๆ หรือคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ และไม่กลัวถ้าจะเกิดการปะทะกัน ระหว่างความคิด ถึงแม้ว่า บางคนจะมีความเป็นอัจฉริยะครบตามที่กล่าวมาทั้งหมด แต่นั่นไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ความสำเร็จ เพราะ ที่กล่าวมาเป็นการสร้างปัญญาให้กับตัวเราเอง ทำให้เราสามารถสร้างความฝันให้ตัวเอง แต่ความฝันนั้นจะเป็นจริงได้ เราต้องมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนความคิดที่เราสร้างขึ้นมาจาก 5 วิธีกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อสานความฝันของเราให้กลายเป็นความจริง
ที่มา: https://www.novabizz.com/…/Intell…/Five_Faces_of_Genious.htm ติดตามกิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ที่ https://www.facebook.com/RaiYodpiroon